นวัตกรรม

รดน้ำพืชผักด้วยระบบ ‘สวนครัวน้ำหยด’ แก้ปัญหาหน้าแล้ง

วิธีให้น้ำพืชด้วยวิธีน้ำหยดในแปลงปลูกผัก 

  • หัวน้ำหยดแบบกระดุม
  • ผ่านทางท่อน้ำพีอี
  • จ่ายน้ำด้วยถังน้ำยกสูงจากพื้น 2 เมตร
  • ปั๊มสูบน้ำขนาดเล็กที่ใช้พลังงานโซลาร์เซลล์ สูบน้ำขึ้นสู่ถังน้ำ

แก้ปัญหาการปลูกผักสวนครัวในสภาพอากาศร้อนจัดและการขาดแคลนน้ำในช่วงหน้าแล้งและช่วยประหยัดน้ำได้อีกด้วย

อ่านแบบเต็ม >>

             สวนครัวน้ำหยดที่สวนผักบ้านคุณตานี้ เป็นการประยุกต์วิธีการให้น้ำพืชด้วยวิธีน้ำหยดในแปลงปลูกผักสวนครัวเพื่อการบริโภคเองในครัวเรือน   เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการปลูกผักสวนครัวในสภาพอากาศร้อนจัดและการขาดแคลนน้ำในช่วงหน้าแล้ง   เป็นการให้น้ำพืชผักด้วยหัวน้ำหยดแบบกระดุม ผ่านทางท่อน้ำพีอี ที่จ่ายน้ำด้วยถังน้ำยกสูงจากพื้น 2 เมตร ตั้งไว้ที่หัวแปลงผักสวนครัว ใช้แรงดันน้ำจากถังน้ำที่ถูกยกสูงในการจ่ายน้ำ  โดยไม่ต้องใช้ปั๊มสูบน้ำในการจ่ายน้ำไปในแปลง   แต่ใช้ปั๊มสูบน้ำขนาดเล็กที่ใช้พลังงานโซลาร์เซลล์ในการสูบน้ำจากบ่อน้ำที่รวบรวมน้ำใช้แล้วในบ้านเรือนที่ผ่านการกรองมาสูบขึ้นถังน้ำสูงเพื่อจ่ายให้แก่พืชผักสวนครัวในแปลงผ่านหัวน้ำหยด   สามารถช่วยประหยัดน้ำ และช่วยให้พืชผักเจริญเติบโตได้ในช่วงแห้งแล้งได้เป็นอย่างดี

แปลงผักสวนครัวบ้านคุณตาที่ประยุกต์เอาแนวคิดและวิธีการสวนครัวน้ำหยดมาใช้นี้ เป็นแปลงปลูกผักสวนครัวในแปลงดิน ขนาดพื้นที 5×3 เมตร  แบ่งเป็นแปลงปลูกผัก 4 แปลงๆละ 1×3 เมตร 4 แปลง ทางเดินระหว่างแปลง 50 ซม. ปลูกพืชผักสวนครัวประเภทผักจีน เช่น คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง หัวไชเท้า ต้นหอม ผักสลัด ผักโขม ผักกาดขาว เป็นต้น   บางช่วงก็ใช้ปลูกข้าวโพด สำหรับการบริโภคเองโดยปลูกสับเปลี่ยนหมุนเวียนตลอดทั้งปี  เดิมการให้น้ำพืชผักในแปลงใช้วิธีฉีดด้วยสายยางจากท่อประปา     ต่อมาได้ติดตั้งหัวจ่ายน้ำแบบมินิสปริงเกลอร์ ที่จ่ายน้ำจากบ่อน้ำที่รวบรวมน้ำใช้แล้วภายในบ้านผ่านการกรอง มาผสมกับน้ำหมักชีวภาพ  ฉีดพ่นให้แก่พืชผักในแปลงโดยการใช้ปั๊มน้ำโซลาร์เซลล์

แต่ในช่วงฤดูแล้งที่ผ่านมา(ปีพศ. 2559)  อากาศร้อนจัด ทำให้มีความต้องการใช้น้ำให้พืชผักในแปลงมากกว่าปกติ แต่ขณะเดียวกันน้ำก็ขาดแคลน  น้ำประปาในบางช่วงบางวันก็หยุดไหล ทำให้ประสบปัญหาการให้น้ำพืชผัก  จึงคิดหาวิธีให้น้ำพืชผักแบบประหยัด  จึงได้นำเอาแนวคิดและเทคนิคสวนครัวน้ำหยดมาใช้ในสวน  ปรากฎว่าได้ผลดี ช่วยบรรเทาการขาดแคลนน้ำและช่วยให้พืชสามารถเจริญเติบโตในฤดูแล้งได้

วิธีการที่นำมาใช้คือ การใช้ถังพลาสติกขนาด 100 ลิตร เป็นแหล่งพักน้ำและแหล่งจ่ายน้ำให้แก่พืชผักในแปลง โดยยกให้สูงจากพื้น 175 ซม.ตั้งบนขาตั้งเหล็ก  โดยตั้งไว้บริเวณหัวแปลงผัก   บริเวณก้นถังด้านหน้า เจาะรู ใช้ข้อต่อท่อพีวีซีเกลียวในขนาด 4 หุนสวมเข้าไปในรู  แล้วใช้ข้องอเกลียวนอกสำหรับท่อพีอี เข้ามาสวม ต่อกับวาล์วน้ำสำหรับควบคุมการปิดเปิดน้ำ  แล้วใช้ท่อพีอีขนาด ½  นิ้วเป็นท่อเมน ต่อจากวาล์วน้ำ ต่อไปหน้าแปลงผัก 4 แปลง และใช้ท่อพีอีขนาดเดียวกันต่อเป็นท่อแยก ต่อเข้าไปตามความยาวของแปลง แปลงละเส้น โดยต่อผ่านข้อต่อ 3 ทางสำหรับแปลงกลาง และข้องอสำหรับแปลงสุดท้าย  จากนั้นใช้ท่อพีอีขนาด 4 มม. ต่อเข้ากับท่อแยก โดยใช้ข้อต่อตรงสำหรับท่อพีอีเสียบเข้าไปในท่อแยกระยะห่าง 20 ซม. ปลายท่อพีอี ใช้หัวน้ำหยดแบบหัวกระดุมมาเสียบเข้าไป  1 แปลงใช้หัวน้ำหยด 30-40 หัว  หัวน้ำหยดแบบหัวกระดุมจ่ายน้ำได้ 1-2  ลิตรต่อชั่วโมง   นอกจากหัวน้ำหยดแบบกระดุมแล้ว ยังได้ประยุกต์ใช้วาล์วพลาสติกที่ใช้จ่ายออกซิเจนในตู้ปลาสวยงาม ซึ่งสามารถเสียบเข้ากับท่อพีอี 4 มม.ได้พอดี และมีวาลว์ปรับระดับการหยดของน้ำได้ด้วย   ถึงเวลาใช้งาน ก็เปิดวาล์วน้ำที่ถัง และปรับระดับการหยดของน้ำโดยการหมุนที่หัวจ่ายน้ำ  ปรากฎว่าแรงดันน้ำดี จ่ายน้ำไปในแปลงผ่านหัวจ่ายน้ำหยดได้อย่างสม่ำเสมอ

ที่จริงแล้วหัวน้ำหยดแบบนี้และจำนวนเท่านี้ถ้าใช้เป็นวิธีให้น้ำผักในแปลงเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่ได้จ่ายน้ำให้แก่ผักทุกต้นในแปลงได้อย่างทั่วถึง   ระบบน้ำหยดสวนครัวในแปลงนี้ถูกนำมาใช้ร่วมกับระบบการให้น้ำด้วยการฉีดจากสายยาง และให้น้ำผ่านหัวสเปรย์น้ำแบบมินิสปริงเกลอร์ที่ให้น้ำผสมน้ำหมัก    การจ่ายน้ำหยดในช่วงแดดจัดๆในตอนกลางวัน ร่วมกับการใช้ฟางคลุมดินบนแปลงผัก ก็ช่วยให้ดินมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ไม่ทำให้พืชผักเหี่ยวเฉาหรือชะงักการเจริญเติบโต    รวมทั้งในช่วงที่น้ำประปาไม่ไหล  ระบบน้ำหยดนี้ก็ช่วยได้มาก

สำหรับการเติมน้ำเข้าถังพักน้ำที่อยู่สูงจากพื้น 175 ซม. ที่นี่ใช้ปั๊มสูบน้ำแบบไดอะแฟรม เป็นปั๊มสูบน้ำที่ให้แรงดันสูง แต่กินไฟน้อย เพียง 8 แอมป์ ใช้ไฟกระแสตรง  12 V ราคาถูกตัวละ 2,500 บาท  ซึ่งต้องการกำลังไฟฟ้าเพียง 96 W  จึงใช้กับแผงโซลาร์เซลล์แบบผลึก 12 V ขนาด 120 W ราคาแผงละ 3,000 บาท  ต่อตรงกับปั๊มน้ำ ใช้สูบน้ำในตอนกลางวันที่มีแสงแดด สูบน้ำจากบ่อน้ำที่เก็บรวบรวมน้ำใช้แล้วภายในบ้าน จากน้ำอาบน้ำ น้ำล้างหน้า แปรงฟัน น้ำซักผ้า จากห้องน้ำผ่านการกรองด้วยเครื่องกรองกรวดทรายถ่านหุงข้าว  แล้วนำมาปรับสภาพผสมกับน้ำหมักชีวภาพ  สูบเข้าถังพักน้ำ  น้ำในถัง 100 ลิตร จ่ายน้ำผ่านระบบน้ำหยดในแปลง 4 แปลง  ได้ 1- 2 วัน ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ

3.2 ระบบการให้น้ำด้วยมินิสปริงเกลอร์ ด้วยปั๊มน้ำโซลาร์เซลล์

ที่สวนผักบ้านคุณตา  มีแปลงปลูกผักสวนครัวปลอดสารเคมี ที่เป็นแปลงดินอยู่ 4 แปลง ขนาดแปลง 1x 3 เมตร ใช้สำหรับปลูกผักจีน ผักเมืองหนาว เช่น ผักสลัด ผักคะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง หัวไชเท้า ผักกาดขาว เป็นต้น เป็นผักที่ต้องการน้ำมาก แต่เดิมใช้วิธีการให้น้ำด้วยการฉีดน้ำด้วยสายยาง ทำให้ใช้เวลาพอสมควรในการรดน้ำผัก และต้องใช้น้ำประปาทำให้เสียค่าน้ำประปามากพอสมควร  ปัจจุบันได้ออกแบบระบบการให้น้ำด้วยหัวจ่ายน้ำมินิสปริงเกลอร์ โดยใช้ร่วมกับปั๊มสูบน้ำแรงดันสูงที่ใช้พลังงานจากโซลาร์เซลล์ โดยสูบน้ำจากถังพักน้ำที่เก็บรวบรวมน้ำใช้แล้วจากห้องน้ำที่เป็นน้ำอาบน้ำ น้ำล้างหน้า แปรงฟัน น้ำซักผ้า  ทำให้ประหยัดน้ำ ประหยัดเวลา และประหยัดค่าไฟฟ้าไปได้มาก

หัวฉีดน้ำมินิสปริงเกลอร์ที่เหมาะกับการให้น้ำในแปลงผักสวนครัวที่เลือกมาใช้เป็นแบบหัวฉีดสเปรย์ 180 องศา ซึ่งแต่ละหัว ฉีดน้ำเป็นละอองละเอียดในรัศมี 0.8-1.5 เมตร จ่ายน้ำ 1.5 ลิตรต่อนาที หรือ 90 ลิตรต่อชั่วโมง  ต้องการแรงดันน้ำ ประมาณ 1-3 บาร์   ในหนึ่งแปลงติดตั้งหัวจ่ายน้ำ 6  ตัว ห่างกันหัวละประมาณ  50 ซม. ทั้งหมด 4 แปลงจึงใช้หัวมินิสปริงเกลอร์ 24 หัว

เนื่องจากการออกแบบระบบการรดน้ำผักด้วยหัวจ่ายน้ำมินิสปริงเกลอร์ แบบหัวฉีดเสปรย์นี้ ต้องการใช้ปั๊มน้ำที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์  จึงต้องเลือกใช้ปั๊มน้ำที่ใช้ไฟกระแสตรง (DC Pump) ที่ให้แรงดันน้ำสูง  จึงเลือกใช้ปั๊มน้ำแรงดัน หรือ Pressure Pump   ปั๊มแรงดันเป็นปั๊มชนิดไดอะแรม (Diaphram Pump)  ที่ให้แรงดันสูงในการสูบส่งน้ำ (1.2-2.4 บาร์) แต่ปริมาณน้ำที่สูบได้ไม่มากนัก (600-750  ลิตรต่อชั่วโมง)  เหมาะสำหรับการให้น้ำแบบหัวฉีดพ่น หรือ แบบละอองฝอย ในพื้นที่ที่ไม่ใหญ่มาก   เป็นปั๊มน้ำที่ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 12-24 V นำมาต่อตรงกับแผงโซลาร์เซลล์ หรือต่อผ่านแบตเตอรี่ก็ได้ เป็นปั๊มที่เดินเรียบ เงียบ กินไฟน้อย

ปั๊มแรงดันที่เลือกมาใช้สูบน้ำสำหรับหัวจ่ายน้ำมินิสปริงเกลอร์แบบหัวสเปรย์ 180 องศา นี้ใช้ขนาด 12 V กินไฟ 8 แอมป์ หรือ 96 วัตต์  ให้แรงดัน 2.4 บาร์ (35 psi) ( 1 psi = ความสูงของน้ำ 70 ซม.) หรือเทียบเท่ากับความสูงของน้ำที่สูบส่งได้ 24.5 เมตร  สูบน้ำได้ชั่วโมงละ 750 ลิตร     เมื่อปั๊มน้ำต้องการไฟ 12 V 96 W จึงเลือกใช้แผงโซลาร์เซลล์แบบผลึกรวม  17 V 120 W   ต่อผ่านแบตเตอรี่ 1 ลูก

เมื่อนำมาใช้งานจริง ผลปรากฎว่า ปั๊มแรงดันขนาดนี้สามารถจ่ายน้ำได้ดีสำหรับหัวจ่ายน้ำจำนวน 12-18 หัว  ถ้าหัวจ่ายน้ำมากกว่านี้ แรงดันน้ำจะไม่พอ ทำให้หัวฉีดน้ำจ่ายน้ำได้ไม่แรง  จึง ติดตั้งวาล์น้ำที่หัวแปลง ทั้ง 4 แปลง เวลาเปิดปั๊มน้ำ ก็เปิดวาล์วน้ำให้หัวฉีดจ่ายน้ำที่ละ 2 แปลง 12 หัว ปรากฎว่าจ่ายน้ำได้แรงดี

นอกจากติดตั้งระบบจ่ายน้ำมินิสปริงเกลอร์ด้วยปั๊มน้ำแรงดันที่ใช้ไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ในแปลงปลูกผักที่เป็นแปลงดินแล้ว  ยังติดตั้งระบบเดียวกันนี้กับสวนผักแนวตั้งริมรั้วบ้านที่เป็นกำแพงปูน ความยาว ประมาณ 10 เมตร ความสูงของกำแพงประมาณ 2.50 เมตร ติดตั้งหัวฉีดน้ำมินิสปริงเกลอร์แบบสเปรย์ 12 หัว ปรากฎว่าใช้งานได้ดี

งบประมาณสำหรับระบบมินิสปริงเกลอร์ที่ใช้ปั๊มแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงจากแผงโซลาร์เซลล์ชุดนี้ นับว่าประหยัดและคุ้มค่ามาก เพราะ ปั๊มน้ำ ราคาตัวละ 2,500 บาท  แผงโซลาร์เซลล์แบบผลึกรวม 120 วัตต์ก็ประมาณ 3,000 บาท ส่วนแบตเตอรี่ ใช้แบตเตอรี่รถยนต์ใช้แล้ว หรือถ้าซื้อใหม่ ก็ซื้อขนาด 80-90 AH ราคา 2,800 บาท สำหรับแบตรถยนต์  ถ้าเป็นแบตเตอรี  Deep Cycle ที่ใช้กับโซลาร์เซลล์ ก็ประมาณ 4,000 บาท อาจใช้ตัวควบคุมการชาร์ต หรือ charge controllerขนาด 10 A ต่อระหว่างแผงกับแบตเตอรี่ ราคา 1,500 บาท  ส่วนชุดหัวจ่ายมินิสปริงเกลอร์แบบหัวฉีดสเปรย์ 180 องศาพร้อมขาและสายจ่ายน้ำ ชุดละ 20-25 บาท  24 ชุด พร้อมท่อPE สำหรับส่งน้ำจากปั๊มมายังหัวจ่าย รวมไม่เกิน 1,000 บาทขึ้นอยู่กับความยาวของท่อส่งน้ำ รวมงบประมาณทั้งหมดไม่เกิน 11,000- 12,000 บาท   ใช้งานได้นาน  แผงโซลาร์เซลล์ใช้งานได้นาน 20-25 ปี ส่วนตัวปั๊มจากประสบการณ์ ทนทาน ใช้งานได้นาน  ส่วนแบตเตอรี่ก็มีอายุ 3-6 ปี

44 thoughts on “รดน้ำพืชผักด้วยระบบ ‘สวนครัวน้ำหยด’ แก้ปัญหาหน้าแล้ง

  1. Pingback: raja bandarq
  2. Pingback: PG
  3. Pingback: buy weed online
  4. Pingback: balsamic mushrooms
  5. Pingback: clicking here
  6. Pingback: หวย24
  7. Pingback: w8888
  8. Pingback: ruby disposable
  9. Pingback: fryd vape
  10. Pingback: danmark apotek
  11. Pingback: qiuqiu99 login
  12. Pingback: Alpha88
  13. Pingback: alpha88 mobile
  14. Pingback: togel idn
  15. Pingback: sudoku
  16. Pingback: bonanza178
  17. Pingback: Henry shotguns
  18. Pingback: winchester ammo
  19. Pingback: federal bullets

Comments are closed.