หลักการของเพอร์มาคัลเชอร์คือเป็นระบบการเกษตรเชิงนิเวศน์และการเกษตรแบบยั่งยืนที่ได้รับการยอมรับและนำไปปฏิบัติในหลายประเทศทั่วโลก เพอร์มาคัลเซอร์คือการสร้างระบบที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพเงื่อนไขนิเวศวิทยา เลือกใช้ลักษณะธรรมชาติของพืชและสัตว์ที่สอดคล้องกับเงื่อนไขของท้องถิ่น และการเลือกออกแบบสิ่งปลูกสร้างและการเกษตรเพื่อให้ระบบเกื้อหนุนกันด้วยการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เวลา คน และพื้นที่ให้น้อยที่สุด แต่มีประสิทธิภาพในระยะยาว ที่สำคัญสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ความสำคัญของการนำหลักการเพอร์มาคัลเชอร์ที่ง่ายและตอบโจทย์มาประยุกต์ให้เข้ากับเกษตรเมืองเพื่อยกระดับความสามารถในการปลูกผักให้มีประสิทธิภาพ เหมาะกับสภาวะความแปรปรวนของภูมิอากาศ
ตัวอย่างการประยุกต์หลักเพอร์มาคัลเชอร์สำหรับเกษตรเมืองได้แก่
วงบ่อกล้วย/วงบ่อมะละกอ Banana circle/Papaya circle
เป็นหนึ่งในหลักการเพอร์มาคัลเชอร์ที่ใช้ช่วยลดขยะอินทรีย์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และไม่ต้องการการจัดการมาก แล้วยังส่งผลดีต่อผลผลิตกล้วยและพืชผักสวนครัว
ขั้นตอนในการทำวงบ่อกล้วย
- ทำหลุมวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เมตร ขุดดินในหลุมให้ลึกประมาณ 0.6 – 1 เมตร นำดินที่ขุดจากหลุมทำขอบรอบหลุม
- นำอินทรีย์วัตถุเช่น เศษกิ่งไม้ หญ้าแห้ง ใบกล้วย ใบไม้แห้ง เศษหญ้าใส่ลงในหลุม เติมมูลสัตว์ เช่น มูลวัว ลงในหลุมหนาประมาณ 15 – 20 เซนติเมตร
- นำกล้วยหรือมะละกอประมาณ 4- 5 ต้น ปลูกไว้บริเวณขอบปากหลุม สลับกับปลูกพืชผักสวนครัว เช่น พริก กะเพรา โหระพา ตะไคร้ เป็นต้น
- สามารถทยอยใส่ขยะอินทรีย์ เศษอินทรีย์วัตถุต่างๆลงในหลุมจนเต็ม (เศษอินทรีย์จะค่อยๆยุบลงไปเอง)
แปลงผักบนเนินดิน Hügelkultur
Hügelkultur เป็นภาษาเยอรมันแปล เนินเขา หลักการนี้เป็นการทำเกษตรที่เลียนแบบวิถีธรรมชาติบริเวณขอนไม้ที่มีการทับทมของเศษอินทรีย์ต่างๆที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นพื้นที่ที่มีความชื้นมากกว่าบริเวณอื่นๆ ทำให้พืชพรรณต่างๆ ที่ปลูกบนแปลงผักแบบนี้ เจริญเติบโตได้ดีโดยที่ไม่ต้องเติมธาตุอาหารหรือปุ๋ยบำรุงและใช้น้ำน้อยกว่าปกติ อายุการใช้งานแปลงนานหลายสิบปี
ขั้นตอนการทำแปลงผักบนเนินดิน
- ใช้ท่อนไม้หรือพวกกิ่งไม้ เรียงจากใหญ่ไปเล็ก และ เศษใบไม้ ใบหญ้าต่างๆ มากองเป็นฐานสูง6 – 2 เมตร ขนาดแปลง 1×2 ตารางเมตร ขึ้นอยู่กับพื้นที่
- คลุมกองไม้ด้วยฟาง นำดินปลูก (ดิน ขี้วัว แกลบ) โรยทับกองไม้ที่ตั้งไว้ โดยให้ดินมีความหนา ประมาณ ไม่เกิน 30 เซนติเมตร
- จากนั้นปลูกผักลงแปลง ผักที่นิยมปลูก เช่น มะละกอ พริก กะเพรา มะเขือ ผสมผสาน ผักสลัด กวางตุ้ง ผักบุ้ง คะน้า เป็นต้น
ประโยชน์ของการทำแปลงผักบนเนินดินคือ พืชผักปลูกจะได้รับสารอาหารจากกิ่งไม้เศษไม้ที่นำมากองสุมไว้ ซึ่งจะถูกย่อยสลายตามธรรมชาติ เป็นการช่วยให้อาหารและความชื้นตามธรรมชาติ ใช้เศษวัสดุธรรมชาติ กิ่งไม้ ใบไม้ให้เกิดประโยชน์ ใช้พื้นที่ปลูกผักได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4 thoughts on “การประยุกต์หลักเพอร์มาคัลเชอร์สำหรับเกษตรเมือง”
Comments are closed.